|
|
|
ครีพและความเค้นแตกหักของโลหะโลหะหรือโลหะผสมเมื่อถ่วงหรือใส่น้ำหนักเข้าไป หรือทำให้เกิดความเค้นอย่างสม่ำเสมอ โลหะนั้นอาจจะ เกิดการเปลี่ยนรูปอย่างถาวร(plastic deformation) ตลอดช่วงเวลานั้น ความเครียดที่เกิดในโลหะและขึ้นอยู่กับเวลา ด้วยเรียกว่า ครีพ (creep) การเกิดครีพของโลหะหรือโลหะผสมนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการออกแบบงานวิศวกรรม บางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นงานที่ออกแบบเกี่ยวกับการเพิ่มอุณหภูมิเวลาใช้ งานดังตัวอย่างเช่นวิศวกรต้องการ เลือกโลหะผสมสำหรับทำใบพัดใน gas turbine engine วิศวกรควรจะต้องเลือกใช้โลหะผสมที่มี creep rate ต่ำมากๆ เพื่อทำให้ใบพัดลมใช้ได้นานๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยน แต่เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิเพิ่มด้วยปัญหาจึงอยู่ที่ว่าอุณหภูมิสูงมากเท่าใด ถ้าพิจารณาการเกิดครีพของโลหะที่เป็น polycrystalline เท่านั้น โดยใช้อุณหภูมิที่เป็น 1/2 Tm (ครึ่งหนึ่ง ของจุดหลอมเหลว) ซึ่งเป็นการทดลองที่ตัวอย่างถูกทำให้ร้อนและรับน้ำหนักคงที่ เมื่อเขียนกราฟระหว่างความยาว ที่เพิ่มขึ้นเทียบกับช่วงเวลาต่างๆจะได้ creep curve ดังรูปที่ 1 แสดง creep curveในอุดมคติของตัวอย่างที่มีค่า ความยืดทันที (instantaneous elongation)e 0 แล้วเกิด primary creep ซึ่ง strain rate ลดลงเมื่อเทียบกับ ค่าของเวลา ความชันของ creep curve de /dt หรือ e 0 คือ creep rate ดังนั้นในช่วงเกิด primary creep ค่าของ creep rate จะค่อยๆ ลดลงในช่วงเวลาต่างๆ จากนั้นจะเกิด secondary creep คือช่วงที่ค่า creep rate คงที่หรือ อาจเรียกว่าเป็น steady- state creep สุดท้ายจะเกิดtertiary creep ในช่วงนี้ creep rate จะมีการเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วจนเกิดรอยแตกขึ้นลักษณะของ creep curve ขึ้นอยู่กับ stress และอุณหภูมิที่ใช้ ถ้าใช้ stressและอุณหภูมิ สูงขึ้น creep rate ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ดังแสดงในรูปที่ 2 ที่อุณหภูมิต่ำ(เช่น ต่ำกว่า 0.4 Tm) และใช้ความดันต่ำโลหะ จะเกิด primary creep แต่จะเกิด secondary creep น้อยมาก ถ้าใช้ความเค้นสูงกว่า ultimate tensile strength โลหะก็จะยืดออกตามปกติ การทดสอบครีพ
การทดสอบการแตกหักเนื่องจากครีพ (Creep - Rupture
Test) ที่มา : วัสดุวิศวกรรม รศ. แม้น อมรสิทธิ์,โลหะวิทยาในงานอุตสาหกรรม ขจรศักดิ์ ศิริมัย | |||||||||||||||||||
Copyright © 2009 All Rights Reserved. |
Visitors : 1105 |