มารู้จักความแข็งกันเถอะ !
ความแข็งคืออะไร
ความแข็ง (Hardness) ก็คือ
ความต้านทานของวัสดุต่อแรงขีดข่วนและการกดจากวัสดุอื่น
ประเภทของการทดสอบความแข็ง
- Indentation
- Dynamic
- Scartch
แบบ Indentation
การทดสอบความแข็งแบบ Indentation
มีดังต่อไปนี้
- แบบร็อกเวล (Rockwell)
Stanley P. Rockwell
ได้จดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เครื่องทดสอบความแข็งชนิดใหม่ขึ้นในปี
ค.ศ.1914 และได้รับสิทธิการจดทะเบียนในปีค.ศ.1919
โดยมีแนวความคิดที่ว่า เนื่องจากการทดสอบ
ความแข็งในสมัยนั้นต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญสูงและใช้เวลาในการทดสอบมากพอสมควร
เขาจึงได้ คิดค้นวิธีทดสอบโดยที่ไม่ต้องมีการวัดรอยกด
หากแต่เป็นการวัดความแตกต่างของความลึกของรอย
กดโดยการใช้เครื่องมือแทน ทำให้สามารถทดสอบได้อย่างรวดเร็ว
- แบบบริเนล (Brinell)
Dr. J. A. Brinell
เป็นผู้คิดค้นและประกาศวิธีการทดสอบแบบนี้ขึ้นในปี ค.ศ.1900
ซึ่งในขณะ นั้นเป็น Chief Engineer ที่ Fagastra Iron Work
ประเทศสวีเดน โดยมีแนวความคิดคือต้องการที่
จะหาวิธีทดสอบที่ง่ายและรวดเร็วในการทดสอบสมบัติของความแข็งของเหล็กและเหล็กกล้าที่ผ่านกระ
บวนการตีขึ้นรูป( Forging)
โดยที่เครื่องทดสอบเครื่องแรกก็ถูกแสดงขึ้นในปีนี้เอง
- แบบวิกเกอร์ส (Vickers)
บริษัท Vickers
Armstrong ได้เป็นผู้แนะนำวิธีการทดสอบแบบนี้ขึ้นในปีค.ศ.1924
โดยการที่ พยายามหาวิธีการทดสอบความแข็ง
ที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้มากกว่าการทดสอบแบบเดิม และ
การเลือกใช้รูปทรงปิรมิด เพื่อให้เกิดความชัดเจนของรอยกด
และจะทำการวัดขนาดของเส้นผ่านศูนย์
กลางได้ง่ายโดยเลือกใช้เพชรในการทำหัวทดสอบ
เนื่องจากมีความแข็งแรงสูงและไม่เกิดการเปลี่ยนรูป ได้ง่าย
การที่เลือกใช้มุม 136 องศาในการทดสอบเนื่องมาจาก
การทดสอบแบบนี้เป็นการพัฒนามาจาก การทดสอบแบบบริเนล
ซึ่งในการทดสอบแบบบริเนลนั้นรอยกดบนชิ้นงานจะต้องมีขนาดระหว่าง
0.25 และ0.5เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของหัวทดสอบ
ดังนั้นค่าเฉลี่ยของขนาดรอยกดจะเท่ากับ 0.375 ซึ่งจะ
มีมุมตามแนวสัมผัส (Tangent) เท่ากับ 136 องศาพอดิบพอดี
- แบบนู้พ (Knoop)
Frederick Knoop,Chauncey G.
Peter และ Walter B. Emerson แห่ง National Bureau of
Standards ในปีค.ศ.1939
แนวความคิดคือการหาวิธีการทดสอบความแข็งที่สามารถให้รอยกดที่เห็น-
ขนาดได้อย่างชัดเจนในกรณีที่ใช้แรงกดต่ำๆ
มีประโยชน์อย่างมากสำหรับวัสดุที่มีความเปราะเช่นแก้ว
ซึ่งอาจจะเกิดการแตกกระจายจากการใช้แรงกดสูงดังเช่นการวัดความแข็งโดยทั่วไป
แบบ Dynamic
การทดสอบความแข็งแบบ Dynamic
หรือที่เรียกกันว่าการทดสอบความแข็งแบบ Shore Scleroscope
ได้ถูกพัฒนาโดย Albret F. Shore ในปี คศ. 1906
และถูกนำมาใช้ทางการค้า
ในการทดสอบความแข็งทางด้านโลหะกับวัสดุที่มีขนาดใหญ่เช่น
เหล็กที่ผ่านกระบวนการตีขึ้นรูป (Forging)
หรือเหล็กที่ผ่านการรีดขึ้นรูป (Rolling)
โดยเทคนิคการทดสอบแบบนี้มีการใช้ทดสอบ
เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา วิธีทดสอบคือ
การปล่อยหัวกระแทกจากความสูงที่กำหนด ให้ลงมากระทบกับผิวชิ้นงาน
แล้ววัดความสูงจากการกระดอนกลับของหัวกระแทก
สเกลที่ใช้วัดจะถูกแบ่งเป็น 100 หน่วย
โดยการใช้การกระดอนกลับของหัวกระแทก ที่ทำจาก เพชร
แบบ Scartch
การทดสอบความแข็งแบบ Scratch
หรือที่เรียกกันว่าการทดสอบความแข็งแบบ Moh'scale
ได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยนักแร่วิทยาในปีค.ศ. 1922 ส่วนใหญ่
ใช้วัดความแข็งของแร่ต่างๆโดย
มีหลักการที่ว่าวัสดุที่มีความแข็งมากกว่าจะสามารถขีดข่วนวัสดุที่นิ่มกว่าได้
ช่วงของความแข็งจะแบ่ง เป็น10 สเกลตามวัสดุอ้างในการทดสอบ
โดยเพชรมีความแข็งมากที่สุดคือ 10 และ ทัลค์มีความแข็ง-
ต่ำสุดคือ 1
แต่ค่าความแข็งของการทดสอบแบบนี้ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการทดสอบกับโลหะเพราะมี
ช่วงของสเกลที่ค่อนข้างหยาบ
การวัดจะดูความกว้างและความลึกของรอยขีดข่วนที่เกิดจากวัสดุที่ใช้
อ้างอิงภายใต้แรงกดที่คงที่
Moh'scale |
Diamond |
10 |
Corundum |
9 |
Topaz |
8 |
Quartz |
7 |
Feldspar |
6 |
Apatite |
5 |
Fluorite |
4 |
Calcite |
3 |
Gypsum |
2 |
Talc |
1 |
|