Set Default Page Add to Favorites Send This Page to Friend TaneDesign.com
 
เกร็ดความรู้
 
บทความต่างๆเกี่ยวกับเครื่องมือวัด/ทดสอบ
 

เครื่องวัดความแข็งของยาง

ความล้าของโพลิเมอร์
การทดสอบแรงดัดงอ
การสอบเทียบเวอร์เนียร์ คาลิปเปอร์
การทดสอบการดัดโค้ง
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องทดสอบ
ความแข็งที่มีหัวกดขนาดเล็ก
 




ความหมายของอักษรย่อทางพลาสติก ตอนจบ

หมวด P (ต่อ)

PEEK

Polyether ether ketone

โพลิอีเทอร์คีโทน เป็นโพลิเมอร์ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างอีเทอร์กับอีเทอร์คีโทน มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ทนต่อรังสี และกัมมันตรังสี , ทนต่อความร้อนสูง , ใช้ทำปลอกหุ้มสายไฟฟ้า , ขวดใส่กรด และสารเคมี , ใช้ทำภาชนะความร้อนสูง

PEG

Polyethylene glycol (ดู Polyethyelene oxide)

PEOX/PEO

Polyethylene oxide

เป็นเทอร์โมพลาสติกซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มพลาสติกวิศวกรรม โพลิเอททีลีน ออกไซด์ ผลิตจาก Ethylene glycol จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Polyethylene glycol

PET/PETP Polyethylene terephthalate เป็นโพลิเอสเตอร์เชิงเส้นตรงที่อิ่มตัวที่สำคัญที่สุด ถูกใช้งานในรูปของเส้นใยสังเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ แต่มีข้อเสียคือ ฝุ่น และสิ่งสกปรกเกาะติดได้ง่าย ดูดซับเหงื่อได้ไม่ดี จึงนิยมผสมกับผ้าฝ้าย ในรูปของแผ่นฟิล์มที่ผลิตจาก PET มีความเหนียว และใส มักจะใช้ในงานเกี่ยวกับอาหาร และยา , ในรูปของ จาน ชาม สามารถแช่ตู้เย็น , อุ่นในหม้อน้ำเดือด จนถึงเสริฟบนโต๊ะอาหารได้เลย , ในรูปของขวดเพ็ท (โดยวิธีเป่ายืด = Stretch-Blow Moulding) ขวดเพ็ทนี้จะใสเหนียว ไม่แตกง่ายๆ ทนต่อความดันก๊าซได้สูง ทั้งยังผ่าน FDA (คณะ กรรมการอาหารและยา) เรียบร้อยแล้ว ใช้บรรจุน้ำอัดลม , บรรจุอาหาร
PETFE Polyethylene-tetrafluoroethylene โพลิเอททีลีนเตตราฟลูออโรเอททีลีน เป็นโคโพลีเมอร์ของเอททีลีน และเตตราฟลูออโรเอททีลีน ใช้ทำกระจกหน้าต่างของหอชมวิว , ท่อระบายอากาศ
PF Phenol-formaldehyde มักจะเรียกกันว่าฟีนอลิค มีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันดีว่า “Bakelite” เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซตติ้ง ฟีนอลิคทนความร้อนในสภาวะปกติประมาณ 160 F-180 F หากผสมวัตถุทนความร้อนบางชนิดจะสามารถทนความร้อนได้ถึง 400 F ฟีนอลิค เป็นตัวนำความร้อนที่เลว ติดไฟได้แต่ช้าและดับเอง จึงมักนิยมใช้ทำมือจับสำหรับอุปกรณ์เครื่องครัว อุปกรณ์ไฟฟ้า ฝาครอบจานจ่ายรถยนต์ ถาดบรรจุสารเคมี ตู้ทีวี ที่รองนั่งโถส้วม นอกจากนี้ฟีนอลิคยังสามารถทำเป็นโฟมได้อีกด้วย ซึ่งโฟมที่ผลิตจากฟีนอลิคนี้สามารถขยายตัวได้ถึง 300 เท่า โฟมฟีนอลิคนิยมทำเป็นทุ่นลอยน้ำ และใช้เสริมความแข็งแรงในเครื่องบิน
PIB Polyisobutylene โพลิไอโซบิวทิลีน เป็นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวจึงเฉื่อยต่อปฏิกิริยา สามารถทนต่อการกัดกร่อนของกรด เบสอนินทรีย์ และน้ำยาเคมีทั่วไป โพลิไอโซบิวทิลีนนี้ส่วนใหญ่จะใช้ผสมกับโพลิเมอร์อื่นในการผลิตกาว ตัวเคลือบผิวผ้า และกระดาษ
 PMMA Polymethyl methacrylate มีลักษณ์ใส ไม่มีสี สามารถให้แสงส่องผ่านได้ถึง 92% มีความแข็งแกร่ง และทนทานต่อดินฟ้าอากาศได้ดีกว่า Polystyrene สมบัติเชิงกล และความคงทนต่อความร้อนดีมาก ส่วนสมบัติการเป็นฉนวนไฟฟ้าดีปานกลาง เนื่องจากสมบัติเด่นของ PMMA คือ ความโปร่งใส และการนำไปย้อมสีได้ง่าย จึงถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบรถยนต์ เช่น ไฟเลี้ยว ไฟท้าย กระจกรถยนต์ หน้าปัดเข็มไมล์ ประโยชน์การใช้งานอื่นๆ เช่น ป้ายโฆษณา แว่นตา เลนส์ ใช้ทำกระจกแทนแก้ว หลังคาโปร่งแสง ก๊อกน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องประดับ เป็นต้น
PMP Polymethyl pentene โพลิเมทิลเพนทีน มีความโปร่งใส ทนต่อสารเคมี นำไฟฟ้าและ
ทนความร้อนได้ดี ใช้ผลิตอุปกรณ์ทารการแพทย์ที่ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ถาดไมโครเวฟ กระจกแว่นตา
POM Polyoxymethylene เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซต ได้จากการเกิดโพลิเมอร์แบบกลั่นตัวของฟอร์มัลดีไฮด์ จึงมักเรียกกันว่า “Polyformaldehyde” มีน้ำหนักเบาและเหนียว ใช้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ ระบบท่อ
PP Polypropylene เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกที่เบาที่สุด มีสมบัติเชิงกลดีมาก เหนียว ทนต่อแรงดึง แรงกระแทกและทรงตัวดี มีจุดหลอมตัวที่ 165 C ไอน้ำและออกซิเจนซึมผ่านได้ต่ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก มีการนำเอา PP ไปใช้งานในลักษณะเดียวกับ PE เมื่อต้องการให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น PP ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น ใช้ทำถุงร้อน ฟิล์มใส ฟิล์มห่อหุ้ม หรือบรรจุอาหารที่ไม่ต้องการให้ออกซิเจนซึมผ่าน พลาสติกหุ้มซองบุหรี่ เชือก แห อวน ถังน้ำมัน ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ภาชนะเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น
PPO Polyphenylene oxide โพลิเฟนิลีนออกไซด์ จัดเป็นพลาสติกวิศวกรรม ใช้ผลิตฝาปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า โครงเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า แผงหน้าปัทม์รถยนต์ ปลั๊กไฟฟ้า ปลอกหุ้มสายไฟฟ้าแรงสูง มือจับเกียร์รถยนต์
PPS Polyphenyl sulphide เป็นพลาสติกวิศวกรรม ซึ่งมีความแข็งแรงและทนทานต่อความร้อน สารเคมีหรือสารละลายได้ดีเยี่ยมอุณหภูมิใช้งานต่ำกว่า 190-204 C ยังไม่มีสารละลายใดทำอันตรายได้ ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า สารเคลือบผิวของภาชนะหุงต้ม แกนใช้พันลวดไฟฟ้า
PS Polystyrene

PS เป็นโพลิเมอร์ที่จัดเป็นพวกเทอร์โมพลาสติกที่มีการจัดเรียงตัวภายในโมเลกุลเป็นแบบอะเท็กติก (atactic) ทำให้อยู่ในรูปของโพลิเมอร์อสัณฐาน (amorphous) จึงมีลักษณะโปร่งแสงและใส

นอกจากนี้ PS ยังมีคุณสมบัติเด่นๆ อีกคือ มีความแข็งมาก ไม่ยืดหยุ่น และเปราะ ไม่ดูดความชื้นและน้ำ ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น เป็นฉนวนไฟฟ้า มีอุณหภูมิกลาสทรานซิชั่น (Tg) ประมาณ 100 C จึงทนความร้อนได้ต่ำถ้าสัมผัสกับแสงแดดที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานๆ อาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเกิดรอยแตกได้ เฉื่อยต่อสารเคมี ทนต่อกรดแก่และเบสแก่ กันการซึมผ่านของก๊าซได้ดี อีกทั้งยังขึ้นรูปแบบต่างๆ ได้ง่ายอีกด้วย PS ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ทำอุปกรณ์เครื่องเขียน , เครื่องประดับ , ส้นรองเท้า , กระดุม , ตลับเครื่องสำอาง , ภาชนะ และขวดบรรจุอาหาร , เฟอร์นิเจอร์ , เครื่องสุขภัณฑ์ , ฝาครอบหลอดไฟ , กรอบประตูหน้าต่าง , ของเล่น , ส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้า,ตลับเทป,ตลับ VIDEO, หมวกกันน็อค,ไฟหน้ารถยนต์ , เปลือกแบตเตอรี่ , แผงหน้าปัทม์รถยนต์ นอกจากนี้ PS ยังได้ถูกผลิตออกมาในรูปของโฟมที่เรียกกันว่า EPS อีกด้วย

PSO/PSU Polysulphone , Polysulfone เป็นเทอร์โมพลาสติกที่ทนความร้อนได้สูง โดยจะสามารถคงสภาพทางด้านกายภาพ และไฟฟ้าได้ในการใช้งานภายใต้อุณหภูมิระหว่าง 65 C ถึง 149 C ทนทานต่อการเกิดออกซิเดชั่นได้สูง , ใสโปร่งแสง , ใช้ในน้ำหรือในอากาศได้นานๆ,ทนกรดด่างได้ดี , เป็นฉนวนไฟฟ้า , ทนความชื้น , ใช้ผลิตจานหมุน หรือถาดไมโครเวฟ , ฝาเครื่องต้มกาแฟ , อุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องการฆ่าเชื้อ , แผงวงจรไฟฟ้า
PTFE Polytetrafluoroethylene โพลิเตตระฟลูออโรเอททีลีน มีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันดีว่า “เทปร่อน” มีคุณสมบัติพิเศษที่เด่นมากคือ สามารถทนทานต่อความร้อนได้ดีเยี่ยม โดยที่คุณสมบัติทางกายภาพเชิงกล และไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิประมาณ 300 C เป็นเวลาแรมเดือน มีความเหนียว ขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นได้ที่อุณหภูมิต่ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม เฉื่อยต่อสารเคมี และไม่สามารถละลายได้เลยในตัวทำละลายใดๆ และเนื่องจาก PTFE มีราคาค่อนข้างแพง การใช้งานจึงจำกัดเฉพาะงานที่ต้องการความเหนียว , สมบัติทางไฟฟ้า และสมบัติความทนทานต่อความร้อนเป็นพิเศษเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ใช้ทำภาชนะในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ใช้หุ้มสายไฟ ใช้ทำภาชนะในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ใช้หุ้มสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล เป็นฉนวนสำหรับมอเตอร์หม้อแปลงไฟฟ้า ขดลวดไฟฟ้า ใช้เคลือบผิว ภาชนะหุงต้มกันติด ฉนวนกันความร้อน
PU/PUR Polyurethane โพลิยูรีเทนมีทั้งชนิดที่เป็นเทอร์โมพลาสติก และเทอร์โมเซต โพลิยูรีเทนเป็นพลาสติกที่มีการใช้กันแพร่หลายมากที่สุดชนิดหนึ่งเนื่องจากผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่อ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น จนถึงเป็นโฟมชนิดแข็ง โพลิยูรีเทนแบ่งออกตามการใช้งานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
โพลิยูรีเทนโฟมชนิดยืดหยุ่นได้ (Flexible Polyurethane Foam) ใช้ทำเบาะเฟอร์นิเจอร์ และรองพื้นพรม
โพลิยูรีเทนชนิดแข็ง (Rigid Polyurethane Foam) มีคุณสมบัติเด่นๆ คือ เป็นตัวนำความร้อนที่เลวมาก นิยมใช้ ปีกเครื่องบิน ท้องเรือ ภาชนะเก็บของร้อนและเย็น เพื่อให้เกิดความแข็งแรง และเป็นฉนวนความร้อน
โพลิยูรีเทนอีลาสโตเมอร์ (Polyurethane Elastomers) สามารถทนต่อแรงเสียดทานได้ดีมาก มีความยืดหยุ่นดี ใช้ทำยางรถยนต์ พื้นรองเท้า นอกจากนี้ Elastomer ยังสามารถนำไปผลิตเป็น Elastic Fiber ซึ่งใช้อุตสาหกรรมสิ่งทอ ไหมเย็บแผล และชุดว่ายน้ำ
PVAC Polyvinyl acetate โพลิไวนิล อะซิเตท มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่เป็นพิษ ทนต่อปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และเฉื่อยต่อรังสี UV ทนทานต่อจารบี ไขมัน และน้ำมันได้เป็นอย่างดี ใช้ทำกาว latex สีน้ำพลาสติก ทำฟิล์มเคลือบผิวรูปถ่าย เคลือบพื้น นอกจากนี้โพลิไวนิล อะซิเตทยังสามารถนำไปเตรียมเป็นโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ (Polyvinyl alcohol) และโฟลิไวนิลอะซีทัล (Polyvinyl acetal) ได้อีกด้วย
PVA/PVAL Polyvinyl alcohol โพลิไวนิลแอลกอฮอล์ เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีสมบัติพิเศษคือ สามารถย่อยสลายได้โดยวิธีชีวภาพ และติดไฟได้คล้ายกระดาษ นอกจากนี้ยังสามารถละลายในน้ำได้ การใช้งานของโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1) อาศัยคุณสมบัติการละลายในน้ำ เช่น ใช้เป็นตัวช่วยทำให้ระบบอิมัลชัน และแขวนลอยต่างๆ ข้นขึ้น (คือใช้ เป็น thickening agent) และใช้ทำแผ่นฟิล์มเคลือบกระดาษซึ่งมีความใสเหนียว และทนต่อการขีดข่วน
2)นำโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ไปทำปฏิกิริยาเคมีให้ไม่สามารถละลายแล้วจึงนำมาใช้งาน ซึ่งโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ไม่ละลายในน้ำนี้สามารถดูดน้ำและความชื้นได้เป็นอย่างดี (ประมาณ 30% โดยน้ำหนัก) จึงใช้เป็นเส้นใยแทนฝ้ายได้ ผ้าที่ทำด้วยเส้นใยโพลิไวนิลแอลกอฮอล์นี้สวมใส่สบาย ซักง่าย ทนทานต่อการสึกหรอ และสามารถคงรูปได้เป็นอย่างดี
PVB Polyvinyl butyral โพลิไวนิลนิลบิวทิรับ เป็นโพลิเมอร์ที่ไม่มีสี เสถียรต่อแสง และมีหมู่ไฮดรอกซิล (ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดติด) จึงมักถูกนำไปใช้ทำกระจกปลอดอันตราย (safety glass) ใช้เป็นสารเติมแต่งในการทำให้เหนียว และยืดหยุ่นได้โดยเฉพาะกาวที่ใช้ในการประกอบเครื่องบิน
PVC Polyvinyl chloride พีวีซี เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เมื่อติดไฟจะดับได้ด้วยตัวเอง ทนต่อน้ำ, น้ำมัน,กรด,ด่าง,แอลกอฮอล์ และสารเคมีต่างๆ ยกเว้นคลอรีน ทนต่อการขัดถู เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี และเนื่องจาก PVC มีคุณสมบัติแข็งแต่เปราะ และสลายตัวได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับความร้อน และแสงแดด ดังนั้นจึงมักนำ PVC ไปทำ Compounding ก่อน โดยเติมสารเติมแต่งต่างๆ เช่น stabilizer , plasticizer เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ทำท่อ ข้อต่อ ฉนวนหุ้มสายไฟ สายเคเบิ้ล แผ่นพลาสติก ฟิล์ม หนังเทียม รองเท้า บัตรเครดิต ทำจานแผ่นเสียง อุปกรณ์รถยนต์ ขวดพลาสติก ของเด็กเล่น
PVDC Polyvinylidene chloride โพลิไวนิลลิดีนคลอไรด์ เป็นโพลิเมอร์ที่มีความเป็นผลึกสูง มักถูกนำไปใช้งานในรูปของฟิล์มห่อของ เพราะโปร่งใส เหนียว และสามารถป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำ และก๊าซได้เป็นอย่างดี
PVDF/PVF Polyvinylidene fluoride โพลิไวนิลลิดีนฟลูออไรด์ เป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทนต่อความร้อน ทำให้สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงถึง 150 C มีความสามารถในการต้านทานตัวทำละลาย และสารเคมีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้แล้วโพลิไวนิลลิดีนฟลูออไรด์ ยังทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ตัวอย่างของการใช้งาน ได้แก่ ฟิล์มห่อของ ปลอกหุ้มสายไฟฟ้า ท่อน้ำ ข้อต่อท่อน้ำ ท่อหดยืดได้
PVFM Polyvinyl formal โพลิไวนิลฟอร์มัล เป็นโพลิเมอร์แบบอสัณฐาน การใช้ประโยชน์หลักของโพลิไวนิลฟอร์มัลคือ ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าสำหรับลวดแม่เหล็ก นอกจากนี้ก็ใช้ทำกรอบเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีด และใช้ทำชิ้นส่วนเฉพาะงานที่ต้องการความแข็งแรง และทนความร้อน

หมวด S

SAN/AS Styrene-acrylonitrule เป็นโพลิเมอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คุณสมบัติในการทนต่อความร้อน และเหนียวกว่าโพลิสไตรีน และคงคุณสมบัติที่ดีของโพลิสไตรีนไว้ เช่น ความแข็ง และโปร่งใส การใช้งานจะคล้ายคลึงกับโพลิสไตรีนแต่จะใช้ในกรณีที่ต้องการคุณสมบัติที่ดีกว่า เช่น จุดหลอมตัวที่สูงกว่า เป็นต้น ตัวอย่างชิ้นงานได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในบ้าน และเครื่องครัวที่มีคุณภาพสูง
SBR Styrene-butadiene rubber สไตรีนบิวทาไดอีนรับเบอร์เป็นผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์อเนกประสงค์ ซึ่งมีคุณสมบัติทางกายภาพคล้ายกับยางธรรมชาติ และสามารถทนต่อการสึกกร่อนจากการขัดสีได้สูงมาก จึงทำให้ SBR มีปริมาณการผลิตและการใช้มากกว่ายางธรรมชาติ และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี การใช้งานได้แก่ ทำพื้นรองเท้า ฟองน้ำยาง แผ่นรองพื้นพรม ถุงมือทางการแพทย์ ถุงยางอนามัย ใช้ผสมกับยางธรรมชาติ ทำยางรถยนต์ (เหตุที่ไม่ใช้ SBR ล้วนๆ ทำยางรถยนต์ก็เนื่องมาจาก SBR ร้อนเร็วกว่ายางธรรมชาติมาก)
SM Styrene monomer เป็นวัตถุดิบในการผลิตโพสิสไตรีน
SMA

Styrene-maleic anhydride

สไตรีนมาเลอิกแอนไฮโดรด์ ใช้ผลิตชิ้นส่วนภายในรถยนต์ ท่อปรับอากาศ เลนส์ ภาชนะไมโครเวฟ ถ้วยชาม ภาชนะบรรจุของร้อน

หมวด T

TA,TPA,PTA Terephthalic acid กรดเทเรฟทาลิก ใช้ผลิตสารเสริมสภาพพลาสติก เส้นใย โพลิเอสเตอร์ ฟิล์ม
TUF Thiourea-formaldehyde ไทโอยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ ใช้ผลิตกระดุมติดเสื้อผ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า

หมวด U

UF Urea-formaldehyde ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า กระดุม
UHMWPE Ultrahigh molecular weight polyethylene โพลิเอททีลีนน้ำหนักโมเลกุลสูงพิเศษ มีความเหนียว และทนทานต่อการเสียดสี ใช้ผลิตเกียร์ หัวค้อน หมวกกันน็อค ฉนวนบุภายใน ถังเคมี
UPVC Unplasticized polyvinyl chloride

โพลิไวนิลคอลไรด์ชนิดไม่ใส่สารเสริมสภาพพลาสติก มีคุณสมบัติแข็งแต่เปราะ ใช้ทำฟิล์ม ใช้เคลือบ ทำขวดน้ำมันพืช กรอบหน้าต่าง ท่อน้ำ

* ที่มา : www.pantown.com/board.php?id=13179&name=board1&topic=128&action=view - 32k -
 
 
Copyright © 2009 All Rights Reserved.
Visitors : 1105
Tane Design